ประวัติค่ายรามคำแหง
ค่ายรามคำแหง
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ได้รับการจัดตั้งเป็นนามค่าย เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๒ และได้ประกอบพิธีเปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๒
กันยายน ๒๕๒๐ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬา
ภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง
กำเนิดค่าย
๑.ได้รับการจัดตั้งเป็นนามค่าย เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๒ ตามหลักฐานหนังสือที่ กพ.๑๗/๒๖๕ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๑๒
๒.ได้ประกอบพิธีเปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๒๐
ประวัติความเป็นมาของค่าย
ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๙ มีความประสงค์ที่จะเรียกชื่อกองกำกับการ เป็นชื่อค่ายว่า "ค่ายรามคำแหง" ด้วยเหตุผล คือ
๑.เพื่อเสริมสร้างพลังใจให้แก่กำลังพลของหน่วย ซึ่งถ้ากล่าวถึงคำว่า ค่าย ก็หมายถึง ที่รวมของกองกำลัง หรือ ที่อยู่ของผู้ที่เป็นนักสู้นักรบที่มีระเบียบวินัยก
๒.เป็นการง่ายต่อการเรียกชื่อสถานที่ โดยที่ใช้คำเรียกชื่อค่ายก็หมายถึง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓ (กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค ๔)
๓.เหตุผลในการอัญเชิญพระนามของสมเด็จพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มาเป็นชื่อค่ายก็เพื่อเทิดพระเกียรติแห่งพระมหาวีระกษัตริย์ไทย ซึ่งในประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า ผืน
แผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด ทางภาคใต้ของประเทศมีอาณาเขตจดแหลมมาลายู ซึ่งพระองค์มีพระปรีชาสามารถเป็นนักอักษรศาสตร์ เป็นนักรบ
เป็นนักปกครอง อันควรอย่างยิ่งที่จะอัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นชื่อค่าย เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลแก่ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน
ด้วยเหตุผล ๓ ประการนี้ จึงได้รายงานไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนและกรมตำรวจ ตามลำดับ เพื่อขอใช้พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมาเป็นชื่อค่าย ตาม
บันทึกที่ กพ.๓๙๗/๒๕๑๑ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๑๑ และกองบัญชาการดำรวจตระเวนชายแดน ได้เสนอไปยังกรมตำรวจ ตามบันทึกที่ ๑๗/๐๕๑๒ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๑ และ
กรมตำรวจ ได้อนุมัติตามหนังสือที่ ๐๕๑๑/๕๗ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๒ จึงเรียกชื่อค่ายว่า "ค่ายรามคำแหง"